สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 5-11 กันยายน 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,651 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,637 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,060 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,042 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 30,150 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,150 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,070 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 864 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,347 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 860 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,210 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 137 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 431 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,637 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 428 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,533 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 104 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 437 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,855 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 434 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,750 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 105 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.2814 บาท 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย: พาณิชย์กระชับสัมพันธ์ขยายตลาดข้าวไทยในสิงคโปร์ หวังดันส่งออกเพิ่ม
กรมการค้าต่างประเทศจับมือสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และทูตพาณิชย์สิงคโปร์ หารือกับสมาคมผู้นำเข้าข้าวสิงคโปร์ ดันส่งออกข้าวไทยเพิ่ม หลังราคาข้าวไทยอยู่ในระดับที่แข่งขันได้
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าเมื่อวันที่
1 กันยายน 2565 ได้มอบหมายให้นางมนัสนิตย์ จิรวัฒน์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นผู้แทนกรมหารือกับสมาคมผู้นำเข้าข้าวสิงคโปร์ (Singapore General Rice Importers Association) ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ กรุงสิงคโปร์ ผ่านระบบ Video Conference เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้า แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์การค้าข้าวและข้อมูลตลาดข้าวในสิงคโปร์ รวมทั้งเพื่อผลักดันการส่งออกข้าวไทยไปยังสิงคโปร์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ให้เพิ่มมากขึ้น
ในการประชุมครั้งนี้ได้รับทราบข้อมูลว่า สิงคโปร์เริ่มเปิดประเทศภายหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย
จึงทำให้ตัวเลขการนำเข้าข้าวไทยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่คาดว่าหลังจากนี้
จะนำเข้าข้าวจากไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากข้าวไทยยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ที่ส่วนใหญ่นิยมบริโภคข้าวไทยและเชื่อมั่นในคุณภาพมาตรฐานของข้าวไทย อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวยังคงเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ โดยไทยได้เน้นย้ำว่าไทยมีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่มีเพียงพอต่อการเพาะปลูก รวมทั้งปัจจุบันราคาข้าวไทยอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ และไทยมีความพร้อมจัดส่งข้าวคุณภาพดีที่เป็นแหล่ง
ความมั่นคงทางด้านอาหารให้แก่สิงคโปร์
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์โดย สคต. ณ กรุงสิงคโปร์ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในสิงคโปร์อย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ อาทิ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับซูเปอร์มาร์เก็ตที่ได้รับความนิยมในสิงคโปร์ ได้แก่ Fairprice และ Isetan รวมถึงจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับแพลตฟอร์มออนไลน์ Lazada/Redmart ตลอดจนจัดกิจกรรม Online Business Matching และการมอบตราสัญลักษณ์ Thai Select ให้แก่ร้านอาหารไทยในสิงคโปร์ เพื่อประชาสัมพันธ์และกระตุ้นยอดขายสินค้าไทยรวมถึงข้าวไทยในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น
การประชุมหารือและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศผู้นำเข้าข้าวรายสำคัญของไทย เป็นกิจกรรมสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งกรมได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันและส่งเสริมให้ข้าวไทยมีส่วนแบ่งในตลาดเป้าหมายเพิ่มขึ้น โดยที่ผ่านมากรมได้จัดการประชุมหารือกับญี่ปุ่น ฮ่องกง และมาเลเซีย ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมาโดยตลอด
ทั้งนี้ จากสถิติกรมศุลกากรและใบอนุญาตส่งออกข้าวของกรมการค้าต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-
31 สิงหาคม 2565 ไทยส่งออกข้าวปริมาณ 4.92 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,538 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 86,064 ล้านบาท) ปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 51.37 และร้อยละ 30.47 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงและผลผลิตข้าวไทยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าการส่งออกข้าว
จะขยายตัวต่อเนื่องและมีแนวโน้มส่งออกข้าวตลอดทั้งปีที่ 7.5 ล้านตัน
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เมียนมาร์
สํานักข่าว The Irrawaddy รายงานว่า ผลผลิตข้าวนาปีที่มีการเพาะปลูกในช่วงฤดูฝนของปีนี้อาจจะมีปริมาณลดลง เนื่องจากราคาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชพุ่งสูงขึ้น จึงทําให้เกษตรกรต้องลดการใช้ลงซึ่งคาดว่าจะทําให้ผลผลิตต่อไร่มีปริมาณลดลง
ทั้งนี้ ราคาปุ๋ยยูเรียปรับสูงขึ้นจากเดิม (ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564) กระสอบละประมาณ 60,000 จ๊าต (ประมาณ 28.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เป็นกระสอบละประมาณ 120,000 จ๊าต (ประมาณ 56.62 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ขณะที่ยาปราบศัตรูพืชมีราคาสูงขึ้นกว่า 3.5 เท่า จากเดิมแกลลอนละประมาณ 20,000 จ๊าต (ประมาณ 9.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เป็นแกลลอนละประมาณ 70,000 จ๊าต (ประมาณ 33 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
เกษตรกรในเขตพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปี กล่าวว่าพวกเขาต้องลดการใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชลงจากเดิม เพราะมีราคาแพงเกินไป ซึ่งทำให้ขณะนี้ต้นทุนการเพาะปลูกข้าวอยู่ที่ประมาณ 500,000 จ๊าต (ประมาณ 236 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นจาก 300,000 จ๊าต (ประมาณ 141 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ก่อนที่จะมีการรัฐประหารในประเทศ
เมียนมาร์นําเข้าสารเคมีทางการเกษตรจากหลายประเทศ เช่น บรูไน จีน อิสราเอล ญี่ปุ่น มาเลเซีย รัสเซีย ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนาม และอินเดีย โดยคณะกรรมการจัดซื้อและจัดหาปุ๋ยยูเรีย (the committee for the procurement and supply of urea fertilizer) ระบุว่ามีการนําเข้าปุ๋ยประมาณ 177,000 ตัน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 และมีการขายแล้วประมาณ 115,000 ตัน
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
บังกลาเทศ
รัฐบาลบังกลาเทศได้เจรจาเพื่อนําเข้าข้าวขาวจากเมียนมาร์ภายใต้ข้อตกลงแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (The government-to-government deal) จํานวน 200,000 ตัน ในราคาตันละ 465.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ CIF  (including cost, insurance and freight (CIF) liner out basis) โดยคาดว่าจะมีการลงนามข้อตกลงในเร็วๆ นี้ และจะมีการส่งมอบภายใน 2 เดือน หลังจากที่มีการลงนามแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีข่าวว่ารัฐบาลบังกลาเทศกําลังพยายามติดต่อกับหน่วยงานของรัฐบาลไทยเพื่อเจรจาซื้อข้าวด้วยขณะเดียวกันก็คาดว่าบังกลาเทศอาจจะนําเข้าข้าวเพิ่มเติมจากอินเดียรวมเป็นประมาณ 1 ล้านตัน ด้วย
รัฐมนตรีกระทรวงการอหาร (the Ministry of Food) ระบุว่า รัฐบาลกําลังพยายามที่จะนําเข้าข้าวเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณข้าวสํารองและทําให้ราคาข้าวภายในประเทศปรับลดลง โดยรัฐบาลจะนําข้าวดังกล่าวออกจําหน่ายให้แก่ประชาชนในราคาถูกเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนจากภาวะเศรษฐกิจ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา  สํานักข่าว Reuters รายงานว่า บังกลาเทศตกลงซื้อข้าวจากเวียดนามและอินเดีย จํานวนรวม 330,000 ตัน โดยจะซื้อข้าวนึ่ง 100,000 ตัน จากบริษัทภาครัฐของอินเดีย ซึ่งคาดว่าราคาข้าวจากอินเดียจะอยู่ที่ตันละ 443.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยผ่านทางท่าเรือ (via seaports) และตันละ 428.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผ่านทางรถไฟ (via railways) ซึ่งราคาทั้งหมดรวมค่าขนส่ง ค่าประกัน และค่าขนถ่ายแล้ว (the prices included freight, insurance and unloading costs) และจะซื้อข้าวจากเวียดนาม 230,000 ตัน ประกอบด้วย ข้าวนึ่ง 200,000 ตัน และข้าวขาว 30,000 ตัน ซึ่งคาดว่าราคาข้าวนึ่งจะอยู่ที่ประมาณตันละ 521 ดอลลาร์สหรัฐฯ และข้าวขาวตันละ 494 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ได้เปิดเผยข้อตกลงดังกล่าวต่อสาธารณะ 
เจ้าหน้าที่ของทางการ กล่าวว่าข้าวจะถูกส่งมอบภายใน 2-3 เดือน หลังจากการลงนามข้อตกลง  
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลบังกลาเทศยังได้ปรับลดภาษีนําเข้าข้าว (import duty) ลงเหลืออัตราร้อยละ 5 จากปัจจุบันที่อัตราร้อยละ 25 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการทำให้ตลาดข้าวภายในประเทศมีเสถียรภาพ โดยอัตราภาษีนําเข้าใหม่จะมีผลจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยจะยกเว้นในกรณีของการนําเข้าข้าวหอม (aromatic rice) และผู้ค้าข้าวที่ต้องการนําเข้าข้าวในอัตราใหม่นี้ ต้องได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากกระทรวงอาหาร (the Ministry of Food) ทั้งนี้ เมื่อวันที่23 มิถุนายน 2565 คณะกรรมการสรรพากรแห่งชาติ (National Board of Revenue (NBR) ได้ออกประกาศลดหย่อนภาษีนําเข้าและอากรนําเข้าข้าวพิกัด 1003.30.99 ชนิดข้าวนึ่ง (มิใช่ข้าวหอม) ให้แก่ ภาคเอกชนผู้นําเข้าข้าวที่ต้องการนําเข้าเหลือ ร้อยละ 25 จากภาษีและอากรนําเข้าเต็ม ร้อยละ 62.5 ลดลงร้อยละ 37.5 โดยมีผลตั้งแต่บัดนี้ (วันที่ 23 มิถุนายน 2565) ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2565 ตามข้อเสนอของกระทรวงการอาหาร
สํานักข่าว Reuters รายงานความคืบหน้าการเปิดประมูลนําเข้าข้าวครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ 2565/66 (INTERNATIONAL TENDER NOTICE FOR IMPORT OF NON-BASMATI PARBOILED RICE (PACKAGE 01) UNDER FY 2022/23) เพื่อซื้อข้าวนึ่งที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ 50,000 ตัน (+/- 5%) จากประเทศใดก็ได้ (worldwide origins) โดยกําหนดยื่นข้อเสนอราคาในเทอม CIF Liner out (including ship unloading costs, for shipment to the ports of Chattogram and Mongla) ภายในวันที่ 6 กันยายน 2565 และข้อเสนอต้องมีผลไปจนถึงวันที่
20 กันยายน 2565 นั้น
ปรากฏว่ามีการยื่นเสนอราคาประมูลต่ำสุดที่ตันละ 439.11 ดอลลาร์สหรัฐฯ (CIF liner-out) จากบริษัท Bagadiya Brothers จากอินเดีย ขณะที่ข้อเสนอราคาที่ผู้เข้าร่วมประมูลรายอื่นๆ ได้ยื่นเสนออยู่ที่ตันละ 444.56 ตันละ 458.53 ตันละ 458.91 และตันละ 489.99 ดอลลาร์สหรัฐฯ CIF liner-out (Liner-out costs include ship unloading costs for the seller)
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2565 หน่วยงาน Directorate General of Food (DGF) ได้ประกาศเปิดประมูลนําเข้าข้าว ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ 2565/66 (INTERNATIONAL TENDER NOTICE FOR IMPORT OF NON-BASMATI PARBOILED RICE (PACKAGE 01) UNDER FY 2022/23) เพื่อซื้อข้าวนึ่งที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ 50,000 ตัน (+/- 5%) จากประเทศใดก็ได้ (worldwide origins) โดยกําหนดยื่นข้อเสนอราคาในเทอม CIF Liner out (including ship unloading costs, for shipment to the ports of Chattogram and Mongla) ภายในวันที่ 6 กันยายน 2565 และข้อเสนอต้องมีผลไปจนถึงวันที่ 20 กันยายน 2565 และกําหนดให้มีการส่งมอบที่ท่าเรือ Chattogram ในสัดส่วนร้อยละ 60 และที่ท่าเรือ Mongla ร้อยละ 40 ซึ่งจะต้องส่งมอบภายใน 40 วัน หลังการทําสัญญาแล้ว (ส่งมอบจํานวนร้อยละ 50 ภายใน 25 วัน หลังการทําสัญญา) สามารถดูรายละเอียดได้ที่
http://dgfood.portal.gov.bd/sites/default/files/files/dgfood.portal.gov.bd/files/12116bd1_1efd_45e5_9349_4129d06dca0b/2022-08-22-05-36-cdce506d063641744677e83cb3f92a2e.pdf
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.51 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.35 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.94 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.14
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.49 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.51 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 320.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,603.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 321.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,642.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 39.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 683.00 เซนต์ (9,863.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 673.00 เซนต์ (9,726.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.49 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 137.00 บาท


 


มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565)คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.406 ล้านไร่ ผลผลิต 35.094 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.372 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 โดยเดือนกันยายน 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.42 ล้านตัน (ร้อยละ 4.08 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.48 ล้านตัน (ร้อยละ 59.04 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง
เป็นช่วงการปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.71 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.48
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.01 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.95 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.86
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.20 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 17.20 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.35
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 275 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,080 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (9,970 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 492 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,030 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 496 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,050 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.81

 


ปาล์มน้ำมัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         
ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ


          ผู้ค้าส่งน้ำตาลเวียดนาม กล่าวว่า ราคาขายปลีกน้ำตาลสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำตาลนำเข้าสูงขึ้นโดยสมาคมน้ำตาล อธิบายว่า ราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากการออกมาตรการใหม่เกี่ยวกับการต่อต้านการทุ่มตลาดที่ดำเนินการในเดือนสิงหาคม พร้อมกับมาตรการใหม่ในการต่อสู้กับการลักลอบนำเข้า ทำให้ราคากลับสู่ระดับคงที่มากขึ้น
          Czarnikow รายงานว่าน้ำตาลส่วนเกินทั่วโลกสำหรับปี 2565/2566 เพิ่มขึ้น ประมาณ 3 ล้านตัน ซึ่งอาจจะเป็นการผลิตที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 180 ล้านตัน โดยมีความต้องการที่ 174 ล้านตัน แหล่งข่าวในตลาด กล่าวว่า การประมาณการดังกล่าวมีส่วนทำให้ราคาตาลล่วงหน้าแบบ FAO อ่อนตัวลงในวันที่ 6 กันยายน ในขณะเดียวกัน การขายน้ำตาลล่วงหน้า สำหรับปี 2564/2565 อยู่ที่ 175 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังจาก 3 ปี ที่ผลผลิตลดลง




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,479.05 เซนต์ (19.94 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,507.60 เซนต์ (20.34 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.89
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 434.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.95 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 459.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.35
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 68.94 เซนต์ (55.76 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 70.91 เซนต์ (57.39 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.78


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

 

 
ถั่วลิสง

 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 107.20 เซนต์(กิโลกรัมละ 86.64 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 115.89 เซนต์ (กิโลกรัมละ 93.81 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.50 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 7.17 บาท)

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,897 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,817 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,406 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,382 บาทคิดเป็นร้อยละ 1.73 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 985 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  104.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 104.11 คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.44 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.21 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 108.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.18 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.32 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 49.42 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 345 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 348 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.81 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 323 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 331 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 354 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 358 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 385 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 379 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 389 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 395 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 369 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 321 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 4.40 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 100.51 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.54 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 102.53 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 80.76 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 80.54 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.75 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 78.38 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 5 - 11 กันยายน 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.68 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.07 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 81.24 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.17 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 138.61 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 138.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.04 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 129.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.07 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.01 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 210.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.90 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา